ทฤษฎีการเรียนรู้

 

          ทิศนา  แขมมณี (2545,หน้า 473) ทฤษฏีการเรียนรู้ หมายถึง ข้อความรู้ที่พรรณนา/อธิบาย/ทำนาย ปรากฏการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนรู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทดสอบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ได้รับการยอมรับว่าเชื่อถือได้และสามารถนำไปนิรนัยเป็นหลักหรือกฎการเรียนรู้ย่อยๆหรือนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนได้ ทฤษฎีมักประกอบด้วยหลักการย่อยๆหลายๆหลักการ

ทฤษฎีเครื่องหมาย

ทฤษฎีเกสตัลท์

ทฤษฎีเครื่องหมาย

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

ทฤษฎีพหุปัญญา

หน้าหลักงานวิจัย

 

          ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์ (2552,หน้า 24-25) สรุปเกี่ยวกับทฤษฎีการเรียนรู้ตามทฤษฎีเครื่องหมายและการประยุกต์ใช้ดังนี้ แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆผู้เรียนมีความคาดหมายรางวัล ที่คาดว่าจะได้รับไม่ตรงตามความพอใจและความต้องการ ผู้เรียนจะพยายามแสวงหารางวัลหรือสิ่งที่ต้องการต่อไป และสิ่งอื่นๆที่เป็นเครื่องชี้ทางตามไปด้วย โดยจะปรับการเรียนรู้ไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะไม่กระทำซ้ำในทางที่ไม่สามารถสนองความต้องการหรือวัตถุประสงค์ของตนซึ่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งอาจจะไม่แสดงออกทันที อาจจะแฝงในตัวผู้เรียนก่อน และเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมหรือจำเป็นก็จะแสดงออก
            การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ จัดทำได้ดังนี้ ผู้สอนควรสร้างแรงขับ และ/หรือ แรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามไปให้ถึงจุดหมายที่ต้องการ ผู้สอนควรให้เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นๆที่เป็นเครื่องชี้ทางควบคู่ไปด้วยเพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้ ผู้สอนควรปรับเปลี่ยนสถานการณ์การเรียนรู้ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนได้ และผู้สอนควรมีการใช้วิธีการทดสอบหลายๆวิธี ทดสอบบ่อยๆ หรือติดตามผลระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงสิ่งที่เรียนรู้ออกมาได้

          

 

 

อ้างอิงจาก

ชัยวัฒน์  สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
กรุงเทพฯ: บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.